วช. - สอศ. ติดดาว 17 ผลงานเด่น สิ่งประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ในกิจกรรมบ่มเพาะ ปี 66

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิดกิจกรรม “บ่มเพาะผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager : IM สายอาชีวศึกษา ประจำปี 2566” และพิธีมอบเกียรติบัตรผลงานติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 17 ผลงาน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมฯ และมอบรางวัลฯ ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ร่วม สอศ. จัด กิจกรรมบ่มเพาะ ผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager: IM สายอาชีวศึกษา ประจําปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมาอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นและแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของคนอาชีวะ ไปเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
รางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น เป็นต้นแบบการพัฒนาและการต่อยอดเป็นประดิษฐกรรมและนวัตกรรม สำหรับการส่งเสริมให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามทิศทางวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 17 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 
ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่
ผลงานเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเคลือบด้วย การสกัดสารแทนนินจากมะขามป้อม” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี 
ผลงานเรื่อง “เครื่องวินิจฉัยศัตรูพืชทุเรียนอัตโนมัติ ผ่านระบบ Line official โดยใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์” โดย วิทยาลัยเทคนิคชุมพร 
ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวสารเพื่อวิสาหกิจ ชุมชน” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ 
ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์ช่วยลงน้ําหนักสําหรับผู้ป่วยขาหัก” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ 
ผลงานเรื่อง “เครื่องฆ่าเชื้อเสมหะผู้ป่วยวัณโรค” โดย วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว 
ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดแรงเหยียดขาและแรงเหยียดหลัง เพื่อคนไทย” โดย วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล 
ผลงานเรื่อง “แว๊กซ์กําจัดขนอโลเวร่าพลัส” โดย วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง 
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอุปกรณ์อัจฉริยะ 
ผลงานเรื่อง “แอปพลิเคชันเกมรูปแบบเทคโนโลยี เสมือนจริงแบบติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์พกพา เพื่อพัฒนาสมรรถนะการตอบสนองและ การเคลื่อนไหว สําหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน “ผู้พิทักษ์แห่งวัชรี”” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี
ผลงานเรื่อง “คอนโดจิ้งหรีดอัจฉริยะ” โดย วิทยาลัยการอาชีพสอง
ผลงานเรื่อง “ศรีวรการ แอคเคาท์สูท” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวรการ
ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
ผลงานเรื่อง “เครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านแบบเติมน้ําหมัก ระบบกึ่งอัตโนมัติ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ผลงานเรื่อง “ตู้อบรังไหมด้วยความร้อนจากเชื้อเพลิง ชีวมวลระบบไหลเวียนไอร้อนย้อนกลับ ด้วยพลังงานจากแผ่นเพลเทียร์ (Peltier)” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอํานาจเจริญ
ผลงานเรื่อง “กล่องสะสมพลังงานสําหรับใช้ในยาม ฉุกเฉิน” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก อีเทค

ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
ผลงานเรื่อง “เครื่องกลั่นน้ํามันหอมสมุนไพร” โดย วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
ผลงานเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุ่นตกปลาจาก ส่วนเหลือทิ้งลําต้นมันสําปะหลัง” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
ผลงานเรื่อง “ขนมหม้อแกงถั่วขาวไข่แดงเค็ม” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี
ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ล็อคประตูแบบพกพา” โดย วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี

นอกจากนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้ด้วย

สำหรับ กิจกรรมบ่มเพาะ ผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager: IM สายอาชีวศึกษา ประจําปี 2566 วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดในระยะเวลา 3 วัน โดยนักเรียน นักศึกษา จากสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้ารับการอบรม จะนำเอกสารเชิงแนวคิด หรือ Concept Paper มาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ