“สินิตย์”สานต่อนโยบาย “ปั้น Gen Z เป็น CEO" มอบ sacit สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านงานหัตถศิลป์ไทย เพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

กระทรวงพาณิชย์ หวังผลักดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สร้างรากฐานขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์ และมุมมองใหม่ ส่งต่อ sacit ปั้นผู้ประกอบการ Gen Z ด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย  สืบสานภูมิปัญญาด้วยความคิดสร้างสรรค์ สร้างรายได้กลับสู่ชุมชน ชาวบ้านอย่างยั่งยืน
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 
โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของการปั้นผู้ประกอบการเริ่มตั้งแต่ระดับ Gen Z ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตและดำเนินชีวิตในสังคมแบบดิจิทัล เพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักธุรกิจ เช่นเดียวกับงานศิลปหัตถกรรมไทย  กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ไทยที่เป็นคนรุ่นใหม่ ๆ อาจจะเป็นกลุ่ม Gen Z หรือ Gen Y ให้มีความสนใจที่จะสานต่องานศิลปหัตถกรรมของครอบครัว หรือไม่ก็เป็นผู้ที่สนใจสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย โดยมอบหมายให้ sacit หรือสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ดำเนินการส่งเสริมด้านทักษะฝีมือและด้านการตลาดให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในการผลักดันให้วงการ                  งานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น 
ด้านนายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า sacit มุ่งมั่นสานต่อนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ในการส่งเสริมให้งานศิลปหัตถกรรมไทยได้รับการยอมรับในทุกเพศ ทุกวัย รวมไปถึงการเฟ้นหาผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z หรือ Gen Y ตัวอย่างเช่น 
ผลงานคุณวิชชาพร ต่างกลางกุญชร แบรนด์ไหมทองสุรนารี อายุ 28 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย หรือ sacit Concept ที่ได้นำเทคนิค Draping ที่เรียบง่ายแต่สวยงามในรายละเอียดของการตัดชุดออกงาน ที่ดูหรูหรา มาปรับประยุกต์เข้ากับผ้าพันคอผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมทอมือ มาดัดแปลงและเพิ่มมูลค่าให้น่าซื้อ น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นให้สามารถสวมใส่ควบคู่ไปกับชุดราตรีได้ โดยออกแบบให้มีทั้งแบบยาวและแบบสั้น สามารถสวมใส่ได้คล้ายเสื้อผ้า ดูทันสมัยมากขึ้น ช่วยเพิ่มยอดขายและตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบันได้อย่างดี
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างผลงานจากผู้ที่เขาสู่วงการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยมาตั้งแต่ช่วงวัยGen Z อย่างคุณอังคาร  อุปนันท์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2558 แม้ปัจจุบันอายุ 39 ปี แต่เริ่มคลุกคลี งานศิลปหัตถกรรมของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก และเริ่มทำงานจริงจังในช่วงปี 2551 ซึ่งขณะนั้นช่วงอายุ 25 ปี  โดยเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาเครื่องเงินจังหวัดเชียงใหม่ จากครูพงษ์มิต  อุปนันท์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 และ ครูอัญชลี  อุปนันท์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2548 ด้วยการใช้เทคนิคการ “ยัดลาย” ซึ่งเป็นทักษะเชิงช่างชั้นสูง มาออกแบบให้เป็นเครื่องประดับดีไซน์สวยงาม ผสมผสานระหว่างงานดั้งเดิมและงานร่วมสมัยได้อย่างลงตัว โดยมีหลักการต่อยอดงานยัดลายที่สืบทอดภูมิปัญญา 
คือไม่ทิ้งความวิจิตร ประณีตแบบดั้งเดิม แต่เพิ่มเทคนิคและวิธีการใหม่เข้าไป โดยการนำงานไปเขียนด้วยน้ำทอง 99% ตามเส้นโครง หรือ เส้นใส้ใน เพื่อให้ชิ้นงานที่ดูแบน มีมิติฝและหรูหราขึ้น ส่วนเรื่องการออกแบบ มีการพัฒนาจากเดิมที่ออกแบบจากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งสามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องเป็นลูกค้าในประเทศ 80% และเป็นลูกค้าต่างชาติ 20% 
ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้เห็นมุมมองของการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น ยังช่วยให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาเชิงช่างส่งต่อไปยังคนรุ่นใหม่ เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมไทยสามารถคงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ