วช. ลงพื้นที่เกาะสมุย พบผู้ประกอบการท้องถิ่น หวังหนุนงานวิจัยยกระดับของฝากอัตลักษณ์ชุมชน เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

วันที่ 4 พฤษภาคม 2566 สำนักงานๅการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย
 คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เกาะสมุย เพื่อเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของฝากท้องถิ่นและรับฟังปัญหาของผู้ประกอบการ เพื่อนำงานวิจัยมาช่วยแก้ไขปัญหา พร้อมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของฝากท้องถิ่นให้มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย
 เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากอัตลักษณ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชนชาวเกาะสมุย” ดำเนินการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ
 โดยมีคณะนักวิจัย พร้อมด้วยผู้นำชุมชนให้การต้อนรับ ณ เกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิต
 รวมถึงการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสนับสนุนในภาคส่วนต่าง ๆ โดย วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ ในการดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากอัตลักษณ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชนชาวเกาะสมุย”
 
ด้วยกรอบแนวคิดในการนำองค์ 
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างบูรณาการมาประยุกต์ใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตผลในท้องถิ่นทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคและบริโภค ควบคู่กับการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชาวเกาะสมุย และตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของฝากอัตลักษณ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชนชาวเกาะสมุย และส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสู่สาก 
 
โดยเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งเกาะสมุยมีพืชเศรษฐกิจหลักที่เป็นสัญลักษณ์ของเกาะ คือ มะพร้าว โดยมะพร้าวเกาะสมุยมีอัตลักษณ์ที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังนำผลิตผลท้องถิ่นอื่น ๆ อาทิ กล้วย และสมุนไพร มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
 สำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสำหรับสร้างรายได้ให้กับชุมชน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ คณะนักวิจัยหวังที่จะนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาบูรณาการร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของฝากเกาะสมุยให้มีอัตลักษณ์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน รวมทั้งจัดทำแผนการผลิต แผนธุรกิจ การสร้างแบรนด์ และการเชื่อมโยงกับตลาด ซึ่งจัดเป็นการสนับสนุนการสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนชาวเกาะสมุยให้สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมตามแนว
ทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำหรับผลิตภัณฑ์ของฝากอัตลักษณ์ชุมชนจากโครงการฯ ที่เยี่ยมชมครั้งนี้ ประกอบด้วย กาละแมที่มีการพัฒนาสูตรและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีการยืดอายุได้, ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าว อาทิ สบู่ ยาสระผม โลชั่นกันแดด, ผลิตภัณฑ์สกสมุนไพรท้องถิ่น ได้แก่ สบู่ ยาสระผม เจลล้างหน้า ยานวด และผลิตภัณฑ์จากใยกล้วย อาทิ
 กระเป๋าจากเชือกกล้อย กระเป๋าผ้ากล้วย สบู่กล้วย นอกจากนี้ การดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าวยังก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของฝากจาเกาะสมุยและผลิตผลท้องถิ่น รวมทั้งศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของฝากอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียง และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ทำให้ชุมชนชาวเกาะสมุยสามารถสร้างงานและสร้างรายได้ให้สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนและสังคมต่อไป

ความคิดเห็น